Latest

The Happiness of Kati

ความสุขของกะทิ

The Happiness of Kati

3000 2000 PRADT
< 1-MINUTE READ

ความสุขของกะทิ (The Happiness of Kati)
2008 | เจนไวยย์ ทองดีนอก
★★☆☆☆

จากผลงานเขียน ความสุขของกะทิ ของคุณ งามพรรณ เวชชาชีวะ นวนิยายเรื่องสั้นรางวัลซีไรต์ ปี 2006 ยอดขายกว่าสองแสนเล่ม และได้มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ เพื่อจำหน่ายในหลายประเทศ อาทิ อเมริกา, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เยอรมนี, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, สเปน, อีตาลี, ฝรั่งเศส ก็กลายมาเป็นภาพชีวิตเคลื่อนไหวอยู่บนแผ่นฟิล์ม ฉายแล้วในโรงภาพยนตร์

ความสุขของกะทิ เป็นเรื่องราวของสาวน้อยชื่อ กะทิ วัยประมาณเก้าขวบ ที่อาศัยอยู่กับตาและยายในบ้านริมคลองแถบชนบท ทั้งตาและยายไม่เคยพูดถึงเรื่องพ่อและแม่ของกะทิ จนกระทั่งวันหนึ่ง เธอก็ได้รู้ความจริงบางอย่าง…

องค์ประกอบภาพ ถ่ายทำออกมาได้สวยงาม นักแสดงแต่ละคนก็ทำหน้าที่ได้อย่างสมบทบาท จะมีก็แต่ตัวละครเด็กบางคนในโรงเรียน ที่แสดงไม่ค่อยสมจริงเท่าไหร่นัก รู้สึกว่าผู้กำกับภาพจะชอบมุมกล้องถ่ายเลื่อนแล้วมีอะไรมาบัง เช่นประตู ผนัง หน้าต่าง (สังเกตว่าใช้หลายครั้ง) การเดินเรื่องค่อนข้างเนิบนาบ ยิ่งช่วงกลางถึงปลายดูแล้วง่วงมาก ด้านการเขียนบทยังไม่ดีนัก หลายฉากใช้การเล่นกับอารมณ์ความรู้สึก โดยไม่มีบทพูด แต่พอดูแล้วกลับรู้สึกแปลก (ตอนแรกนึกว่าแม่ของกะทิเป็นใบ้)

ถ้าจะให้เทียบกับหนังสือแล้ว ต้องขอบอกว่ายังห่างชั้นกันอีกมาก เนื่องจากในหนังสือจะเป็นการเล่าเรื่องพรรณนา โดยไม่ค่อยมีบทพูดมากนัก แต่ในหนังจะให้มามีเสียงความคิดลอยมาเรื่อย ๆ ก็ดูจะไม่เหมาะ แต่การปล่อยเงียบไว้ ก็ไม่ได้ทำให้คนดูเข้าใจเนื้อความเหล่านั้นแต่อย่างใด โดยเฉพาะคนดูที่ไม่ได้อ่านหนังสือมาก่อน …ฉากที่ชอบมากคือฉากกะทิตื่นนอนตอนต้นเรื่อง และฉากสุดท้าย น้องที่แสดงเป็นกะทิแสดงได้ดูเป็นธรรมชาติดี อ้อ เพลง “ดีใจที่มีเธอ” ไพเราะมาก!

play_circle_filled
pause_circle_filled
Untitled
volume_down
volume_up
volume_off

ฉันดีใจที่มีเธอ ฉันดีใจที่เจอเธอ
เธอคือกำลังใจเดียวที่มี ไม่ว่านาทีไหนไหน
ฉันดีใจที่มีเธอ แม้ว่าต้องพบอะไร
ฉันก็รู้และฉันอุ่นใจ ว่าฉันนั้นจะมีเธออยู่ตรงนี้…


THIS ARTICLE WAS FIRST PUBLISHED ON
UPDATED
2020.08.31
10 comments
  • เป็นอีกเรื่องที่น่าเสียดายในรอบต้นปีคับ

    เราชอบฉากที่น้องกะทิสะดุดล้มที่ชายหาด ร้องไห้ เห็นม้าอยู่ข้างหน้า แล้วก็หยุดร้องไห้ คือเราชอบการปรากฏตัวของม้าในภาพยนตร์น่ะ มันเท่ห์ดี [cool]

    ps.
    เราเพิ่งเข้าใจนะ
    ว่าการถ่ายภาพแบบเลื่อนๆ ในเรื่อง “ความสุขของกะทิ” ทำให้เรานึกถึงเรื่อง “Toni Takitani” ของผู้กำกับญี่ปุ่นคนหนึ่งที่ดัดแปลงมาจากเรื่องสั้นของมุราคามิ แต่จากเรื่อง “Toni ฯ” คือเราเห็นแล้วเก็ตเลยว่าทำไมต้องถ่ายแบบนั้น คือเขาถ่ายให้เห็นภาพมันจะเลื่อนจากขวาไปซ้าย เลียนแบบวิธีการอ่านหนังสือของญี่ปุ่น (หรือซ้ายไปขวานี่ล่ะ) เหมือนเรากำลังอ่านเรื่องสั้นของคุณลุงมุราฯ แกจริงๆ แล้วเรื่อง “Toniฯ” มันก็ดีมาก เล่าเรื่องดี ภาพดี นักแสดงดี สมบูรณ์ในความรู้สึกของเรา

    ทุกอย่างเป็นประสบการณ์ของผู้กำกับ รอดูเรื่องหน้าของคุณเจนไวยย์คับ.

  • @fridaysongs
    ฉากวิ่งที่ชายหาดก็ถ่ายได้อารมณ์ดีครับ น้องคนนั้นก็แสดงได้ดี น่าเสียดายที่การเดินเรื่องก่อนหน้าฉากนั้นมันไม่สามารถดึงอารมณ์ของผมให้พีคได้ในฉากนั้น ทั้งที่มันควรจะเป็น มันเลยเหมือนอารมณ์ขาดช่วง เนิบอยูดี ๆ ก็โดดไปพีคเลย

    ส่วนม้านี่งงว่าทำไมไปอยู่ตรงนั้นได้ แว่บแรกของความคิดคือ …เอ๊ะฉากนี่มันแบบเรื่อง the queen กับ michael clayton เลยหนิ!

  • โอ้ จริงด้วย
    เราว่าม้านี่เป็นจุดสำคัญของเรื่องเลยนะ ใน “michael clayton” น่ะ ฉากนั้นมันดูฝันๆ ลอยๆ ดูเกินจริง ม้าในตอนนั้น ถ้าจำไม่ผิดมันเหมือนสิ่งเหนือธรรมชาติที่มาคุ้มครองพระเอก

    ส่วนใน “ความสุขของกะทิ” เราดูแล้วเข้าใจว่าม้าคือตัวแทนของความเข้มแข็งน่ะ มาเตือนให้กะทิบอกว่าไม่ใช่เวลามาอ่อนแอแต่ต้องเข้มแข็งและอยู่ข้างๆ แม่

    เห็นด้วยกับฉากที่กอดแม่ก่อนหน้าฉากชายหาด มันไม่ link กัน และไม่ทำให้เราไปถึงความรู้สึกพีคอย่างที่คุณ pradt บอกจริงๆ [suspicious] ตอนดูเรายังแอบคิดไปว่า ฉากนี้เราจะไม่ให้กะทิกอดแม่ แต่เจอแม่แล้วแอบเหวอแล้ววิ่งหนีไปเลย หรือเจอแม่แล้วแม่ทำเฉยๆ ไม่พูด ไม่กอด แล้วกะทิเสียใจว่าทำไมแม่ไม่แสดงออกความรักให้มากกว่านี้ สองฉากนี้มันจะได้ไปถึงจุดที่มันควรจะถึง

    (จะว่าไปสปอย์กันสุดฤทธิ์ ขอโทษท่านผู้อ่านมาถึงบรรทัดนี้ด้วย.)

  • ยังไม่ได้ดู แต่ดันเผลออ่าน comment ซะจนจบไปแล้ว -_-”

  • Avatar photo
    EscRiBiTioNiSt® 2009.01.10 at 20:21

    เพลงเพราะจริง..

    ปล. เพิ่งซื้อหนังสือเรื่องนี้มา.. ยังอ่านไม่จบเลย T_T”

  • ได้ดู วันเด็ก
    ไม่เคยอ่านหนังสือมาก่อน

    ไม่ get เลย หลายๆ อย่าง
    “ม้า” ก็ไม่เก็ท
    ดูจบมา สงสัยว่า ความสุขของกะทิ อยู่ตรงไหนเหรอ? งง

    ลิ้นชักสารพัดปี มันยังไงเหรอ?
    น้าๆ ลุงๆ สามคนนั้น เป็นญาติทางไหนเหรอ?

    คำสาบานของแม่ นี่รวม ห้ามโทร ห้ามเขียน ห้ามพูดถึงเลยเหรอ? ป่วยหลายปี ห้ามติดต่อ ห้ามพูดถึงกันสักนิดเลยเหรอ? หนังสือเขาเขียน เว่อ อย่างในหนังเหรอ?
    เพราะคำบรรยาย บอกว่า กะทิจำได้แต่ภาพลางของแม่ เมื่อนานมาแล้ว

    คนตายไปแล้ว ก็ไม่ควรแจ้งให้ สามี ทราบเหรอ?

    พ่อกับลูก ก็ไม่ควรได้รู้จักกันเลยเหรอ? แค่รู้จัก ไม่จำเป็นต้องย้ายสำมะโนไปอยู่ด้วยกันนี่ !!!

    แล้ว ทำไม ช-ญ มีลูก แล้วเลิกกันเหรอ? ไม่ติดต่อกันอีกเลยเหรอ? แค่ไปทำงาน ฮ่องกง?

    ผู้ใหญ่ในเรื่องดู เครียด วิตกจริต มากกว่าเด็กซะอีก

    ลูกเจอแม่ ไม่มีบทคุยกันเลยเหรอ? คิดว่าเป็นใบ้

    ฉากที่ ตอง มาให้ที่อยู่ ภาพเหมือนที่ทะเล บ้านแม่ ถามจากเพื่อนที่เคยอ่านหนังสือบอกว่า กะทิมากรุงเทพแล้ว แล้ว ตองเอาที่อยู่มาให้ !!! โอว สับสน เราคิดว่าอยู่ที่ ทะเลนะ ถ้าทะเลแล้วตองไปหาได้ไง หรือแม้จะเป็น กรุงเทพ แล้ว ตองมาหายังไง?

    การแฟลชแบ็ค กลับไปกลับมา และขณะอยู่ กรุงเทพ ทำเพื่ออันใดกันรึ ให้คนดูงงเล่นๆ ว่าตอนนี้อยู่สถานที่ใดกันแน่ หรือมีอะไร พีค ที่กรุงเทพ รึ? ไม่รุสึกเลย

    หนังพยายาม ใส่ภาพความงาม การทำอาหาร สภาพบ้านเรือน ธรรมชาติ ทุ่งหญ้า สายลม คล้ายหนังเกาหลีที่เคยดู นิ่งๆ สงบๆ สวยงามธรรมชาติ แต่ทำได้ไม่ถึง และไม่เก็ทอารมณ์ หรือเนื้อเรื่องใดใด

    สุดท้ายเพื่อนเอาหนังสือให้อ่าน และบอกว่า “หนังสือ” ดีมากๆ
    ส่วนตัวคิดว่า หนังเรื่องนี้ ไม่เวิร์ค
    พาลจะคิดว่า หนังสือ เขียนสไตล์ แฟลชแบ็คอย่างนี้หรือเปล่า
    หนังสือน่าจะนำไปสู่คำตอบ “ความสุขของกะทิ”
    แต่หนังจบแล้ว ยังไม่รู้เลย ว่า กะทิ มีความสุข ตรงไหน?

    น้องกะทิ น่ารักมากครับ

  • เสียดายที่อุตส่าห์โม้ให้คนที่ยังไม่ได้อ่านหนังสือไปดูกัน ต้องโดนประณามแน่ตรู อย่างที่เจ้าของบล๊อกบอกว่ายังห่างชั้นกันอีกมาก นั่งดูไปก็ุลุ้นไปว่าหวังว่าฉากต่อไปจะดี แต่ก็เฮ้อ.. เราว่าคนเขียนบทหลงทางไปนิสส แต่ดูเครดิตตอนจบ อ้าวคนแต่งก็แจมด้วยนี่หว่า กำ
    รำคาญเสียงน้อยนิดนุงง่ะ

  • ยังไม่ได้ดูเลย ว่าจะหาเวลาไปดูเรื่องนี้เหมือนกันว่ามันจะสื่ออารมณ์ได้ดีเหมือนหนังสือไหม แต่อ่าน blog นี้แล้วพอจะมองออกแล้วนะเนี่ย

  • Loading comment…น้องที่เล่นเป็นกะทิน่ารักจังเลยครับ

  • ไม่ดู :)
    ไม่อ่านblogด้วย

    vem vem

Comments are closed.

REPORT / REQUEST
REPORT / REQUEST