Latest

EVERYTHING EVERYWHERE ALL AT ONCE

3000 1688 PRADT
3-MINUTE READ

EVERYTHING
EVERYWHERE
ALL AT ONCE

Daniel KwanDaniel Scheinert
(2022)

★★★★½
 

EVERYTHING EVERYWHERE ALL AT ONCE

ตัวทฤษฎี parallel universe หรือจักรวาลคู่ขนานไม่ใช่เรื่องใหม่ มันน่าจะถูกหยิบมาใช้ในนิยายมาเป็นร้อยปีแล้ว และกลายมาเป็น multiverse จักรวาลคู่ขนานที่ทับซ้อนกันแบบไร้ที่สิ้นสุด โดยในแต่ละเรื่องผู้เขียนบทก็จะพยายามสร้างเรื่องราวและกฏที่ดูน่าจะเป็นไปได้ขึ้นมา

EVERYTHING EVERYWHERE ALL AT ONCE

ในเรื่องนี้มีจักรวาลต้นกำเนิดที่เรียกว่า Alphaverse เป็นจักรวาลแรกที่ค้นพบการมีอยู่ของจักรวาลคู่ขนานอื่นๆ และยังเป็นจักรวาลหนึ่งเดียวที่มีเทคโนโลยีที่สามารถทำให้ผู้ใช้ดึงความสามารถพิเศษจากเวอร์ชันของตัวเองในจักรวาลอื่นมาใช้ และยังสามารถส่งจิตกระโดดข้ามไปสิงร่างตัวเองในจักรวาลอื่นได้ชั่วคราวอีกด้วย

EVERYTHING EVERYWHERE ALL AT ONCE

แต่การจะส่งจิตไปเชื่อมกับจักรวาลอื่น จำเป็นต้องมีเส้นทางเฉพาะที่ผิดธรรมชาติ ทำให้คนทั่วไปไม่สามารถกระโดดข้ามไปมาตามใจชอบ (ไม่ใช่แค่ดีดนิ้วเปิดประตูมิติแล้วกระโดดดึ๋งข้ามไปได้เลย)

EVERYTHING EVERYWHERE ALL AT ONCE

Alphaverse ก็จะมีทีมที่คล้ายกับโอเปอเรเตอร์ใน THE MATRIX คอยเฝ้าดูและค้นหาว่าต้องใช้วิธีไหนเพื่อเชื่อมกับจักรวาลที่ต้องการ อันที่ใกล้หน่อยก็ไม่ยาก เช่น ใส่รองเท้าสลับข้างกัน ส่วนจักรวาลที่มีเวอร์ชันของตัวเองที่เก่งกว่ามาก ก็จะอยู่ไกลออกไปและต้องใช้วิธีพิศดารบ้าบอมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น กินลิปสติก, ทำให้กระดาษบาดระหว่างช่องนิ้วมือทั้งห้า, หักแขนตัวเอง ฯลฯ

EVERYTHING EVERYWHERE ALL AT ONCE

Alpha Waymond (Waymond จากจักรวาลแรก) ข้ามไปสิงร่างตัวเองในจักรวาลอื่นเพื่อตามหาคนที่จะสามารถมาปราบ Jobu Tapaki (Stephanie Hsu) จอมมารที่ Alphaverse เชื่อว่าเป็นภัยต่อจักรวาลคู่ขนานทั้งหมด

EVERYTHING EVERYWHERE ALL AT ONCE

ชอบแนวความคิดที่ว่าทุกการตัดสินใจของเราจะแตกแขนงออกไปเป็นอีกจักรวาล ทุกความล้มเหลวก็จะมีอีกเวอร์ชันของเราที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเรื่องนี้หยิบเอาจุดนี้มาใช้ได้สุดมาก ต่างจากเรื่องอื่นๆ ที่ variant ของตัวเองในจักรวาลอื่นมักจะมีลักษณะคล้ายกันหรือต่างกันเพียงเล็กน้อย

EVERYTHING EVERYWHERE ALL AT ONCE

EVERYTHING EVERYWHERE ALL AT ONCE เป็นภาพยนตร์ที่เต็มไปด้วยความน่าตื่นเต้นในทุกฉากแบบเกินความคาดหมาย จนอยากจะให้คะแนนเต็มเพราะชอบโครงเรื่อง บท นักแสดงทุกคน โดยเฉพาะ Michelle Yeoh ที่อายุเกือบ 60 ปีแล้วยังรับบทโชว์เทคนิคต่อสู้แบบนี้ได้อีก (ไปอ่านเจอบทความว่าเธอเล่นเองเกือบทุกฉาก)

EVERYTHING EVERYWHERE ALL AT ONCE

ติดแค่ตอนท้ายมันตัดจบง่ายไปหน่อย แม้ว่าจะจบได้น่าประทับใจ แต่จะมาบอกว่า kindness หรือความเมตตาสามารถใช้ได้กับทุกคน…มันก็ไม่น่าใช่นะ!

EVERYTHING EVERYWHERE ALL AT ONCE

EVERYTHING EVERYWHERE ALL AT ONCE ฉายรอบปฐมทัศน์ในงานเทศกาลภาพยนตร์ SXSW (South by Southwest) วันที่ 11 มีนาคม 2022 ก่อนจะเข้าฉายในสหรัฐอเมริกาวันที่ 25 มีนาคม 2022 ส่วนในประเทศไทยเข้าฉายวันที่ 12 พฤษภาคม 2022 ด้วยชื่อ “ซือเจ๊ ทะลุมัลติเวิร์ส”

EVERYTHING EVERYWHERE ALL AT ONCE ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง 11 รางวัลจาก Academy Awards ครั้งที่ 95 จัดขึ้นที่ Dolby Theatre ในลอสแอนเจลิส วันที่ 12 มีนาคม 2023 ในสาขา Best Costume Design (Shirley Kurata), Best Original Song, Best Original Score (Son Lux), Best Film Editing (Paul Rogers), Best Original Screenplay (Daniel Kwan & Daniel Scheinert), Best Supporting Actress (Jamie Lee Curtis & Stephanie Hsu), Best Supporting Actor (Ke Huy Quan), Best Actress (Michelle Yeoh), Best Director (Daniel Kwan & Daniel Scheinert), Best Picture และสามารถคว้ามาได้ 7 รางวัลคือ Best Film Editing (Paul Rogers), Best Original Screenplay (Daniel Kwan & Daniel Scheinert), Best Supporting Actress (Jamie Lee Curtis), Best Supporting Actor (Ke Huy Quan), Best Actress (Michelle Yeoh), Best Director (Daniel Kwan & Daniel Scheinert) รวมถึง Best Picture

REPORT / REQUEST
REPORT / REQUEST