Latest

ATLANTIS

3000 1688 PRADT
4 MINUTE READ

ATLANTIS

Luc Besson
(1991)

★★★★★
 

Oubliez un par un les sons de tous les jours
จงค่อยๆ ลืมเสียงทุกอย่างรอบตัวของคุณ
tous ces bruits
ลืมเสียงอึกทึกครึกโครม
tous ces symboles d’une vie qui est devenue moderne, urbaine
ลึมทุกสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตรูปแบบใหม่ของปัจจุบัน
oubliez cet environnement de verre et de métal

จงลืมสภาพแวดล้อมอันสร้างจากแก้วและโลหะ
Oubliez ces routes
ลืมเส้นทางพื้นถนน
qui nous emmènent chaque jour un peu plus vite, un peu plus loin
สิ่งที่ช่วยให้เราเดินทางได้รวดเร็วขึ้นและพาเราไกลออกไป

Bienvenue dans le monde d’Atlantis
ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ อั๊ตลอนทิซ
Le monde originel
โลกที่ไม่เหมือนโลกที่คุณเคยสัมผัสมาก่อน
Un monde magnifique, mystérieux, harmonieux
โลกที่ทั้งงดงาม ลึกลับ ทุกอย่างผสานกลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียว

L’humanité est née ici
มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นที่นี่
L’humanité a grandi et mûri ici,|comme un prince héritier
มนุษย์ที่เปรียบเสมือนเหมือนทายาทของโลกนี้ได้เติบโตและเจริญวัย
Elle s’est éduquée les sens dans ce monde sans gravité
มนุษย์เรียนรู้พัฒนาความรู้สึกในโลกนี้ โลกที่ปราศจากแรงโน้มถ่วง
Ce monde sans pagaille
โลกที่ปราศจากความยุ่งเหยิงทั้งมวล

L’amour, la tendresse, le rythme, la grâce, l’esprit
ความรัก ความอ่อนโยน จังหวะ ความสง่างาม ความมีชีวิตชีวา
Tant de dons offerts autrefois par la mer, généreuse et belle
ทะเลนั้นได้มอบหลายสิ่งหลายอย่างทั้งที่สวยงามและกว้างใหญ่

Oubliez un par un le souvenir|des nombreuses générations
จงค่อยๆ ลืมความทรงจำเกี่ยวกับชั่วอายุของเราที่มีมานานแสนนาน
Oubliez tout ce que vous savez
ลืมทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณเรียนรู้มาทั้งหมด

Plongez
แล้วดำดิ่งลงไป
plongez quelques millions d’années dans le passé
ดำดิ่งลงไปในอดีตกาลเมื่อหลายล้านปีก่อน
lorsque la vie, cette merveilleuse idée
เมื่อครั้งที่ชีวิตที่เป็นความคิดอันมหัศจรรย์
devenait réalité
แปรเปลี่ยนกลายมาเป็นความจริง
 

จากผลงานกำกับที่น่าทึ่งของ ลุค เบซอง (Luc Besson) ที่จะนำพาทุกชีวิตดำดิ่งลงไปใต้ท้องน้ำสีคราม ชมสิ่งมีชีวิตใต้ผืนน้ำที่สวยงามพร้อมกับบทเพลงจากฝีมือของ อิริค เซอร่า (Éric Serra) นักแต่งเพลงคู่บุญที่ช่วยทำให้สัมผัสของห้วงน้ำล้ำลึกยิ่งขึ้น

La lumiére

“แสงสว่าง” เริ่มมาด้วยภาพของแสงอาทิตย์สาดส่องลงมาไต้ผิวน้ำ สะท้อนเป็นประกาย พร้อมกับมีเสียงของ flute ให้ความรู้สึกสวยงามแบบวังเวง ตามด้วยเสียง violin และกลอง ต่อมาเป็นภาพของปลาเป็นกลุ่มใหญ่ กำลังแหวกว่าย ให้ความรู้สึกยิ่งใหญ่ของท้องทะเล

L’esprit

“ความมีชีวิตชีวา” ใช้ปลาโลมาเป็นตัวแทนของพลังความมีชีวิต ที่สามารถเคลื่อนที่อย่างอิสระใต้ทะเล ตอนช่วงกลางมีการใช้เครื่องเป่ามาสร้างความรู้สึกทำเป็นอิสระ มีเสียงขลุ่ยแหลมๆ มาแทรกสอดให้อารมณ์ของความสนุกสนาน

Le mouvement

“การเคลื่อนไหว” ใช้งูทะเลมาเป็นตัวแทนของการคลื่อนไหว ดนตรีที่ใช้จะเป็นเครื่องเป่าเป็นหลัก ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวที่ลึกลับและพิศวง ด้วยแนวดนตรีแบบอาราเบียน

Le jeu

“การละเล่น” มีการใช้ดนตรีแนว techno จังหวะ upbeat มาประกอบกับภาพมุมกล้อง ที่เคลื่อนตัวหมุนกลับไปกลับมาอย่างรวดเร็ว ดูแล้วรู้สึกมึนงงยิ่งนัก สำหรับตอนนี้จะใช้แมวน้ำมาเป็นตัวแทน แล้วก็ยังมีนกเพนกวินและดารารับเชิญอย่างตัวอิกัวน่าแห่งกัลลาปาโกส

La grâce

“ความสง่างาม” ปลากระเบนถูกนำมาใช้เป็นตัวแทนของความสง่างาม ด้วยการเคลื่อนตัว ราวกับนางพญาแห่งท้องทะเล ดนครีที่นำมาประกอบก็สุดยอดไม่แพ้กัน โดยใช้เพลงที่ตัดมาจาก La Sonnanbula ของ Vincenzo Bellini ขับร้องโดยสุดยอดนักร้องเสียงโซปราโนผู้เป็นตำนานอย่าง Maria Callas ที่ให้ความรู้สึกสวยและสง่างามจริงๆ

La nuit

“รัตติกาล” ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ต่อจากเรื่องด้านบน จะเริ่มด้วยภาพของปลาหมึกยักษ์ ที่ค่อยๆแหวกว่ายเคลื่อนตัวผ่านสาหร่ายสีเขียวสดใส ลงไปในทะเลลึกลงไปทุกที จนในที่สุดก็กลายเป็นสีดำสนิท เป็นการสื่อถึงส่วนลึกของทะเล ที่แม้แต่แสงสว่างยังไม่สามารถที่จะส่องผ่านลงไปถึง ข้างใต้นั้นเต็มไปด้วยความมืดมิดตลอดกาล แต่แม้แต่ในสถานที่เช่นนี้ก็ยังมี ชีวิตอาศัยอยู่ ดนตรีที่ใช้มีทั้งเครื่องเป่า violin รวมไปถึงพิณ ให้ความรู้สึกที่วังเวงที่ลึกลับ แต่ก็ยังมีคงามสวยงามซ่อนอยู่ภายใน ส่วนที่ชอบมากคือมีการใช้ effect เสียงของลม มาประกอบภาพของดอกไม้ทะเลที่ไหวไปตามกระแสน้ำลึก แต่ด้วยเสียงประกอบของลมที่พัดหวิว ก็ทำให้รู้สึกเหมือนกับว่า กำลังมีลมพัดอยู่ใต้ทะเลลึกจริงๆ

La foi

“ศรัทธา” ยังคงเป็นภาพของความมืดมิดใต้ท้องทะเล หากแต่มีแสงสว่างเรืองรองอยู่ในความมืดมิดนั้น ดนตรีที่ใช้ก็เปลี่ยนเป็นเสียงของวงประสานเสียง ที่ให้ทั้งความรู้สึกเหมือนความไม่แน่นอน หวาดกลัว และวังเวง แล้วก็ค่อยๆเปลี่ยนเป็นความสวยงาม ขณะที่มุมกล้องก็เริ่มเคลื่อนตัวจากก้นทะเลที่มืดมิด ขึ้นมาสู่ใต้ผิวน้ำเห็นแสงสว่างรำไรส่องผ่านร่องหินลงมา

La tendresse

“ความอ่อนโยน” อันนี้ก็ต่อเนื่องกับเรื่องก่อนหน้านี้ เมื่อขึ้นมาสู่พื้นที่ใกล้กับผิวน้ำก็เป็นภาพของปะการัง พื้นน้ำสีคราม มีเสียง effect ที่เป็นทั้งเสียงนกแล้วก็แมลงต่างๆ ให้ความรู้สึกราวกับกำลังเดินอยู่ในป่า ที่สวยงามเหมือนความฝัน ตัวแทนของความอ่อนโยนก็จะเป็นคู่ของช้างน้ำ ที่เคลื่อนตัวอย่างเชื่องช้าอย่างนุ่มนวล ดนตรีที่ใช้ก็จะเป็นเสียงของเครื่องเคาะตัดกับเสียงเครื่องเป่า

L’amour

“ความรัก” กลับมาลึกลงอีกหน่อยกับเสียงใต้ผืนน้ำสีฟ้า ที่มีภาพของแมวน้ำว่ายวนไปมา ค่อยๆเคลื่อยนขึ้นมาสู่ผิวน้ำที่มีกระแสคลื่นพัดอยู่ตลอดเวลา และฝูงแมวน้ำที่ว่ายเล่นอย่างสนุกสนานหยอกล้อกับคลื่นใต้ทะเล เพลงที่ใช้เป็นกลับมาเป็นดนตรีแนว pop/rock ที่ได้เสียงของนักร้องเสียงนักร้องฝรั่งเศสเสียงน่ารัก Vanessa Paradis มาร้องประกอบให้ ช่างเข้ากันเหลือเกิน นอกจากแมวน้ำแล้วตอนนี้ยังมีดาราประกอบอีกหลายคู่ ไม่ว่าจะเป็นงูทะเล เต่า ปลา

La haine

“ความเกลียดชัง” ส่วนนี้เรียกได้ว่าเป็นส่วนที่ชอบน้อยที่สุดในนี้ เป็นการสื่อถึงความโกรธเกลียด โดยใช้ภาพของฝูงปลาฉลามที่โหดร้ายมาเป็นตัวแทน ดนตรีทีใช้จะเป็นเหมือนความสับสน และความกดดัน ดวงตาของปลาฉลามที่ดำสนิท ราวกับโลกที่มืดมิดไร้ที่สิ้นสุด ต่อด้วยภาพของการกัดกินแย่งชิงอาหาร ฉีกทำลาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว แต่เมื่อมาประกอบกับภาพและบทเพลงกลับให้ความรู้สึกกดดันและน่ากลัว

La naissance

“การกำเนิด” บทส่งท้ายที่แทนด้วยภาพของรูปลักษณ์ที่งดงามของโขดหินปะการังแคบๆ สร้างความรู้สึกเหมือนกับการนำพาผู้ชมค่อยๆ เคลื่อนตัวผ่านไปยังอีกด้านหนึ่ง ที่มีแสงสว่างสีฟ้าอมเขียวส่องสว่าง ต่อด้วยภาพที่เหมือนอยู่ใต้ผิวน้ำแข็ง ที่ส่องแสงสีเขียวอ่อนๆ เสียงดนตรีที่ให้ความรู้สึกอ่อนโยนน่าพิศวง ขณะที่เราเคลื่อนตัวไปสู่หลุมใต้พื้นทะเล

ส่วนท้ายสุดนี้จะเป็นการแนะนำตัวนักแสดงทั้งหมดที่มีอยู่ในสารคดีชิ้นนี้ เรียงตามลำดับการออกมาแสดงตัวก็จะมี ฝูงปลาโลมาแห่งบาฮาม่าส์ (Dauphins tachetés des Bahamas), งูทะเลแห่งคาเลโดนี (Serpent “Tricot Rayé” de nouvelle Calédonie), ฝูงแมวน้ำแห่งกัลลาปาโกส (Ortaries des Galapagos), อิกัวน่าแห่งกัลลาปาโกส (Iguanes des Galapagos), ฝูงเพนกวินแห่งกัลลาปาโกส (Pingouins des Galapagos), ปลากระเบนแห่งแปซิฟิค (Raie Manta du Pacifique), ปลาหมึกยักษ์แห่งแวนคูเวอร์ (Pieuvre géante de Vancouver), ช้างน้ำแห่งฟลอริด้า (Lamentin de Floride), ฝูงฉลามแห่งตาฮิติ (Requin de lagon de Tahiti), ปลาฉลามยักษ์แห่งออสเตรเลีย (Grand requin blanc d’Australie) และฉลามแห่งเซย์เชลส์ (Requin baleine des Seychelles)

ดนตรีประกอบ โดย Éric Serra / วงดนตรีประกอบ โดย The Royal London Philharmonic Orchestra / วงคอรัสประกอบ โดย John McCarthy Ambrosian Opera Chorus

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นสารคดีเกี่ยวกับทะเลที่มีการนำเสนอในแนวมิวสิคัลคือจะไม่มีบทพูดอธิบายใดๆ นอกจากคำเกริ่นนำตอนต้น

Atlantis ใช้เวลาถ่ายทำนานกว่าสองปี สร้างขึ้นเมื่อปี 1991 ซึ่งนับเป็นเวลาสิบกว่าปีมาแล้ว แต่ทั้งการกำกับภาพและเสียงดนตรีประกอบนั้น ยังคงดูนำสมัยอยู่ ถ้าหากคุณเป็นคนที่ชอบธรรมชาติใต้ท้องทะเลด้วยแล้ว ก็ไม่ควรพลาดชมผลงาน musical documentary ที่ไม่ธรรมดาชิ้นนี้ของ Luc Besson

THIS ARTICLE WAS FIRST PUBLISHED ON

 
To ensure the accuracy of the records, please contact via email
if any information requires correction or updating.


YOU CAN ALSO BUY ME A COFFEE

REPORT / REQUEST
REPORT / REQUEST