Latest

Mahler’s Titan

Thailand Philharmonic Orchestra

Mahler’s Titan

2000 2250 PRADT
2-MINUTE READ

Mahler′s Titan
2011 | Dariusz Mikulski
★★★★☆

Mahler′s Titan

กลับมาอีกครั้งกับคอนเสิร์ตของ Thailand Philharmonic Orchestra ควบคุมวงโดย Dariusz Mikulski โดยในครั้งนี้มีไฮไลท์เป็น Symphony No. 1 in D major หรือที่รู้จักกันในชื่อ Titan ประพันธ์ขึ้นในช่วงปี 1884 – 1888 โดย Gustav Mahler และการแสดงของดับเบิลเบสโซโลอิสท์ Gunārs Upatnieks จากประเทศ Latvia

เปิดการแสดงด้วยบทเพลงเทพนิมิตร ๓ ชั้น ซึ่งแต่เดิมเป็นเพลงเรื่องนางหงส์ อันเป็นเพลงชุดอัตรา ๒ ชั้นที่รวมเพลงต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน อันได้แก่ เพลงพราหมณ์เก็บหัวแหวน เพลงสาวสอดแหวน เพลงสุดแสนสวาท และเพลงแมลงวันทอง เพลงเรื่องนางหงส์นี้ในอดีตใช้บรรเลงประโตมศพมาก่อน ต่อมาได้มีการแต่งขยายทำนองให้เป็นเพลงอัตรา ๓ ชั้น มีการแทรกทำนองให้มีลูกขัดลูกล้อ มีจังหวะสนุกสนานตลอดทั้งเพลง กลายเป็นเพลงดัดแปลงที่ปรุงแต่งไกลจากแนวต้นฉบับเดิม และได้เปลี่ยนชื่อเป็นเพลงเทพนิมิตร เพื่อปิดบังว่ามีต้นกำเนิดมาจากเพลงนางหงส์

เพลงลำดับต่อมาเป็น Concerto No. 2 in B minor for Double Bass and Orchestra ของนักประพันธ์เพลงชาวอิตาเลียน Giovanni Bottesini เขาเป็นคนมีพรสวรรค์อย่างสูงตั้งแต่ยังเด็ก เมื่อครอบครัวของเขาไม่สามารถส่งให้เขาเรียนใน Milan Conservatory เขาจึงต้องการชิงทุนการศึกษา ซึ่งในขณะนั้นมีเพียง 2 ทุนที่เปิดรับสมัครอยู่ คือ Double Bass และ Bassoon เขาใช้เวลาเตรียมตัวเพียงไม่กี่สัปดาห์ก็สามารถชิงทุนของ Double Bass ได้ และหลังจากนั้นเพียง 4 ปี เขาก็จบการศึกษา พร้อมกับเงินรางวัล 300 ฟรังค์ ที่เขานำไปซื้อ Double Bass ฝีมือของ Carlo Antonio Testore

เขาปฎิวัติการเล่นเบสอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน​ โดยการเล่นเพียงสามสาย แทนที่จะเป็นสี่สายตามธรรมดา และเปลี่ยนวิธีจับคันชักด้วย การเปลี่ยนเทคนิคการเล่นของเขาส่งผลถึงการเปลี่ยนบทประพันธ์ด้วย เขาได้รับสมญานามว่า Paganini of Double Bass (Niccolò Paganini เป็นนักประพันธ์และนักไวโอลิน ชาวอิตาเลียนซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคนิคการสีไวโอลินแบบใหม่) ดังที่ศิลปินร่วมสมัยกับเขาหลายคนกล่าวว่า “เขาเล่นเสียงซ้อนเหมือนกันเสียงฟลูตได้อย่างน่าอัศจรรย์ ราวกับซ่อนนกไนติงเกลไว้ในดับเบิลเบสนับร้อยตัว” (How he bewildered us by playing all sorts of melodies in flute-like harmonics, as if he had a hundred nightingales caged in his double bass!” ด้านงานประพันธ์เพลงของเขาก็ได้รับความชื่นชมจากศิลปินร่วมสมัย ยกย่องการสร้างประโยคเพลงกับทำนองที่สว่างไสวเจิดจ้าราวกับพลุ

play_circle_filled
pause_circle_filled
Bottesini: Concerto No. 2 III. Allegro
volume_down
volume_up
volume_off

Bottesini: Concerto No. 2 III. Allegro เล่นโดยวง hr-Sinfonieorchester

Gunars Upatnieks

ลำดับต่อมาเป็น Soloist โดย Gunārs Upatnieks เล่นเพลง Bass Trip ผลงานประพันธ์ของ Pēteris Vasks ชาวลัตเวียน มีความน่าใจอย่างมากโดยเฉพาะช่วงท้ายของเพลงที่มีการใช้เสียงผิวปากมาร่วมการการเล่น Double Bass ด้วย

play_circle_filled
pause_circle_filled
Gunārs Upatnieks | Bass Trip
volume_down
volume_up
volume_off

ลำดับสุดท้ายของการแสดง และไฮไลท์ของงานนี้ Symphony No. 1 in D major “Titan” ผลงานของ Gustav Mahler โดยบทประพันธ์นี้แบ่งออกเป็น 4 movements (แต่เดิมมี 5 movements ภายหลังได้มีการปรับเป็น 4)
I. Langsam. Schleppend. Wie ein Naturalaut
II. Kräftig bewegt, doch nicht zu schnell
III. Feierlich und gemessen, ohne zu schleppen
IV. Stürmisch bewegt

play_circle_filled
pause_circle_filled
Mahler: Symphony No. 1 in D major I. Langsam. Schleppend. Wie ein Naturalaut
volume_down
volume_up
volume_off

สำหรับเวอร์ชันที่หยิบมาให้ลองฟังกันคือมูฟเมนท์แรก I. Langsam. Schleppend. Wie ein Naturalaut เล่นโดย Chicago Symphony Orchestra ควบคุมวงโดย Sir Georg Solti บันทึกเสียงในปี 1981

REPORT / REQUEST
REPORT / REQUEST