[ss_click_to_tweet tweet=”#portraitdelajeunefilleenfeu เรื่องราวของสตรีชั้นสูงที่กำลังจะเข้าพิธีแต่งงาน แต่เธอกลับไปมีความสัมพันธ์กับจิตรกรสาว ที่ได้รับการว่าจ้างให้มาวาดภาพของเธอ — ผลงานเขียนบทและกำกับโดย Céline Sciamma นำแสดงโดย Noémie Merlant และ Adèle Haenel” content=”ภาพยนตร์ดรามาโรแมนติก เรื่องราวของสตรีชั้นสูงที่กำลังจะเข้าพิธีแต่งงาน แต่เธอกลับไปมีความสัมพันธ์กับจิตรกรสาว ที่ได้รับการว่าจ้างให้มาวาดภาพของเธอ — ผลงานเขียนบทและกำกับโดย Céline Sciamma นำแสดงโดย Noémie Merlant และ Adèle Haenel” style=”default”]
portrait de la jeune fille en feu
portrait of a lady on fire
Céline Sciamma
(2019)
ขณะที่ Marianne (Noémie Merlant) จิตรกรสมัยช่วงปลายศตวรรษที่ 18 กำลังสอนเหล่าลูกศิษย์เรื่องการวาดภาพ เธอก็เหลือบไปเห็นภาพที่เธอเคยเขียนวางตั้งอยู่หลังห้อง เธอจึงถามว่าใครเป็นคนนำภาพออกมา
หนึ่งในลูกศิษย์ของเธอ (Armande Boulanger) ซึ่งเป็นคนนำภาพออกมาจากห้องเก็บของ จึงถามเธอว่าเธอเป็นคนวาดภาพนี้หรือเปล่าและภาพนี้มีชื่อเรียกว่าอะไร เธอตอบลูกศิษย์ว่าภาพนี้เธอเป็นคนวาดเมื่อนานมาแล้ว ภาพนี้มีชื่อว่า portrait de la jeune fille en feu (portrait of the girl on fire)
ในอดีตหลายปีก่อนหน้านี้ Marianne เป็นจิตรกรที่ Countess (Valeria Golino) ว่าจ้างมาเพื่อให้วาดรูปของ Héloïse (Adèle Haenel) ลูกสาวคนเล็ก ซึ่งถูกเรียกจากคอนแวนท์ให้กลับมาที่บ้าน หลังจากที่ลูกสาวคนโตเสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย — รูปของ Héloïse จะถูกส่งไปให้กับผู้ชายที่เธอจะต้องแต่งงานด้วย แต่ Héloïse ไม่ต้องการภาพวาด ทั้งนี้เธอก็ได้ปฏิเสธจิตรกรชายคนก่อนไปแล้ว และเธอก็ไม่ต้องการจะแต่งงานอีกด้วย — Marianne จึงถูกจ้างมาให้เป็นเพื่อนของ Héloïse มีจุดหมายเพื่อแอบวาดภาพโดยที่ไม่ให้เธอรู้
Marianne ต้องจดจำโครงสร้างใบหน้า สีผิวยามแสงตกกระทบในเวลาที่ต่างกัน หลังจากการไปเดินเล่นกับ Héloïse เพื่อนำมาใช้วาดภาพจากความทรงจำของเธอเท่านั้น แล้วยังต้องคอยซ่อนอุปกรณ์วาดภาพต่างๆ เพื่อไม่ให้ Héloïse รู้ ในบางครั้งเธอก็ต้องแอบวาดรายละเอียดเก็บไว้ในสมุดบันทึกที่เธอพกติดตัว
หลายวันต่อมา Marianne ก็สามารถวาดภาพจนสำเร็จ โดยหลังจากที่เธอรายงาน Countess ผู้ว่าจ้างแล้ว เธอก็ขออนุญาตให้เธอเป็นคนบอกความจริงกับ Héloïse ว่าเธอเป็นจิตรกรที่ถูกจ้างมา ซึ่ง Countess ก็ยินยอมตามนั้น
เมื่อ Héloïse รู้ความจริงทั้งหมดและได้เห็นภาพวาดของตัวเธอ เธอก็วิจารณ์ว่าภาพนี้คือสิ่งที่ Marianne เห็นว่าเธอเป็น แต่นั่นไม่ใช่ตัวจริงของเธอเลย ทำให้ Marianne เสียใจและตัดสินใจทำลายภาพนั้น ซึ่งทำให้ Countess ไม่พอใจและคิดจะไล่เธอกลับไป แต่ Héloïse บอกกับแม่ของเธอว่า เธอจะยอมเป็นแบบให้ Marianne วาดอีกครั้ง สร้างความประหลาดใจให้กับแม่ของเธออย่างมาก Countess จึงตกลงให้ Marianne ลงมือวาดภาพอีกครั้ง ระหว่างที่ Countess เดินทางไปธุระที่อิตาลี และหวังว่าเธอจะเห็นภาพที่เสร็จแล้วเมื่อเธอกลับมา
ระหว่างที่ Countess เดินทางไปอิตาลี Marianne กับ Héloïse ก็รู้ว่า Sophie (Luàna Bajrami) สาวใช้ในบ้านตั้งครรภ์และเธอวางแผนจะทำแท้งตอนที่ Countess ไม่อยู่ ทำให้ทั้ง Marianne และ Héloïse ต้องมาช่วย Sophie ทำแท้งแบบโบราณ
Marianne และ Héloïse ก็รู้สึกผูกพันกันมาขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงวันที่ Countess เดินทางกลับมา นั่นก็หมายถึงวันที่ทั้งสองคนต้องแยกจากกัน
ชอบการใช้สีในเรื่อง สวยทุกฉากยังกับภาพวาด นักแสดงทั้งสองคน Adèle Haenel และ Noémie Merlant ก็เล่นได้ยอดเยี่ยม — ช่วงกลางรู้สึกว่าเดินเรื่องเอื่อยไปนิด แต่ฉากจบนี่คือดีมาก — ชอบฉากจบที่ใช้เพลง Concerto No. 2 in G minor, Op. 8, RV 315, L’estate III. Presto (in G minor) ของ Antonio Vivaldi ให้ความรู้สึกคล้าย Call Me by Your Name — ชอบการหยิบเรื่อง Orpheus & Eurydice มาใช้ด้วย
portrait de la jeune fille en feu ฉายรอบปฐมทัศน์ในงานเทศกาลภายนตร์เมือง Cannes วันที่ 19 พฤษภาคม 2011 ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับคัดเลือกให้เข้าประกวดชิง Palme d’Or และสามารถคว้า Queer Palm รางวัลพิเศษที่จัดตั้งขึ้นในปี 2010 เพื่อมอบให้กับภาพยนตร์ที่ส่งเสริมหรือเกี่ยวข้องกับ LGBT ซึ่ง Céline Sciamma เป็นผู้กำกับหญิงคนแรกที่สามารถคว้ารางวัลในสาขานี้มาได้
portrait de la jeune fille en feu เข้าฉายในประเทศฝรั่งเศส วันที่ 18 กันยายน โดย Pyramide Films ก่อนจะเข้าฉายในสหรัฐอเมริกา วันที่ 6 ธันวาคม
เพลงธีม La jeune fille en feu ฝีมือ Para One กับ Arthur Simonini ที่ออกมาช่วงกลางเรื่องมาก