สารคดีของ Johannes Holzhausen ผู้กำกับชาวออสเตรีย ที่นำพาผู้ชมไปดูเบื้องหลังการทำงานของพิพิธภัณฑ์ Kunsthistorisches หนึ่งในสถาบันวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก
DAS GROSSE MUSEUM
THE GREAT MUSEUM
Johannes Holzhausen
(2014)
Kunsthistorisches Museum Wien (หรือ KHM) คือพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ ตั้งอยู่ในเวียนนา ประเทศออสเตรีย พิพิธภัณฑ์นี้ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 20 ปี ตั้งแต่ปี 1871 จนได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการในปี 1891 โดยจักรพรรดิ Franz Joseph I แห่งออสเตรีย
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นเจ้าของคอลเลกชันภาพวาดฝีมือ Pieter Bruegel the Elder (จิตรกรคนสำคัญที่สุดแห่งยุคเรอเนสซองซ์ของดัตช์และเฟลมิช ในช่วงศตวรรษที่ 16) จำนวน 12 ภาพ รวมถึงภาพที่โด่งดังอย่าง The Tower of Babel (หอคอยบาเบล) และเคยจัดนิทรรศการ Bruegel – Once in a Lifetime! ในช่วงวันที่ 2 ตุลาคม 2018 – 12 มกราคม 2019 แสดงคอลเลกชันของ Bruegel ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก จำนวน 29 ภาพ (จากทั้งหมด 40 ภาพที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว) ซึ่งสร้างสถิติมีผู้เข้าชมมากกว่า 2.2 ล้านคน
สารคดีเรื่องนี้พาผู้ชมไปดูเบื้องหลังการการทำงานของเหล่าเจ้าหน้าที่ในพิพิธภัณฑ์ ก่อนการเปิด Kunstkammer Wien อีกครั้งในปี 2013 หลังจากชั้นที่จัดแสดงศิลปวัตถุยุคเรอเนสซองซ์และบาโรก จำนวนมากกว่า 2,200 ชิ้น บนพื้นที่ 2,700 ตารางเมตร ส่วนนี้ถูกปิดไปเป็นเวลา 11 ปี ตั้งแต่ปี 2002 เพื่อทำการบูรณะซ่อมแซม
ผู้กำกับคอยติดตามเฝ้าสังเกตการณ์อย่างเงียบๆ โดยไม่มีคำบรรยายใดๆ นอกจากเสียงสนทนาของคนที่อยู่ในเหตุการณ์ตอนนั้น อาทิ การประชุมเรื่องงบประมาณ ค่าใช้จ่าย, การปรับราคาค่าบัตรเข้าพิพิธภัณฑ์รายปี, การออกแบบป้าย, การใช้ Kick Scooter เพื่อความสะดวกรวดเร็ว, การปรับปรุงพื้นที่จัดแสดงงาน, การดูแล บูรณะซ่อมแซม และจัดเก็บชิ้นงานศิลปะต่างๆ
เบื้องหลังที่คนทั่วไปไม่น่าจะเคยเห็น อาทิ โกดังเก็บภาพวาดที่ไม่ได้ถูกนำมาจัดแสดง, การทำงานของผู้เชี่ยวชาญด้านการบูรณะภาพวาดที่ค้นพบว่าภาพของ Peter Paul Rubens ถูกเขียนทับหลายครั้ง, การตัดสินใจเลือกภาพที่จะนำมาจัดแสดงไว้ในกลุ่มเดียวกัน หรือ การดักจับแมลงตามจุดต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ เพื่อตรวจสอบหาแมลงจำพวกมอด ที่เป็นภัยต่องานภาพเขียน
The Coronation Gospels has been considered to be the most important book of the Middle Ages. Originating around 800 in the palace school of Charlemagne, the Codex Aureus, written in golden ink on purple-coloured pages, evolved to be the most important medieval book of all: as part of the imperial regalia it played a central role in every coronation of a Roman-German king.
ช่วงที่ชอบมาก คือช่วงการสแกนหนังสือ Vienna Coronation Gospels เพื่อทำแบบจำลองหนังสือสำหรับจัดแสดง เนื่องจากหนังสือจริงเก่าแก่ และอยู่ในสภาพที่บอบบางมากจนไม่สามารถนำมาตั้งแสดงแบบถาวรได้ โดยทางพิพิธภัณฑ์ยังจัดทำหนังสือเล่มนี้ จำนวน 333 เล่ม สำหรับจำหน่ายในราคาเล่มละ 29,980 ยูโร (ประมาณ 1,16,000 บาท)
333 hand-numbered copies. The facsimile volume contains 472 pages and retails the original format of 340 x 265 mm. Each page of the book is entirely coloured in purple. The four full-page portraits of the Evangelists are gilt with real 23-carat gold. The gold of the 16 liturgical plates, the four initial pages and the text pages are reproduced with gold leaf. Each individual sheet is stamped out according to the original contours of the sheet, and tacked in single layers by hand to form five genuine double bands to which a hand-stitched headband is attached at the top and bottom. The decorative cover of the binding is made of copper; it is nickel- and silver-plated, gold-plated and patinated by hand; on the cover are 19 ornamental stones: amethysts, smoky quartz, a tourmaline, rhinestones and a synthetic sapphire; the frames are engraved, and gilt catches and five gilt book studs on the back cover of the facsimile complete the edition. The casket consists of a base covered with black velvet and maple wood elements, together with a cover made of UV-absorbing acrylic glass.
ชอบช่วงที่ทางพิพิธภัณฑ์ส่งคนไปร่วมงานประมูล Dorotheum เพื่อซื้อของมาเติมคอลเลกชัน แต่ไม่
สามารถสู้กับพวกพ่อค้างานศิลปะเงินหนา หรือนักสะสม private collectors เพราะงบประมาณมีจำกัด ก็เลยต้องกลับไปมือเปล่า
ดูแล้วก็น่าเศร้าเหมือนกันนะ ที่ทุกอย่างต้องกลายเป็นธุรกิจไปหมด พิพิธภัณฑ์ก็ต้องคิดกลวิธีดึงคนมาซื้อตั๋วสร้างรายได้ แม้ว่าจะมีเงินทุนที่ได้รับมาจากรัฐบาล และผู้บริจาคเงินสมทบแล้วก็ตาม
จุดด้อยก็คงเป็นการตัดต่อที่ดูไม่ค่อยลื่นไหล (ลื่นไหลตรงช่วงที่เป็น long take ไล่ตามถ่ายคนเคลื่อนจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง) บางช่วงทำให้อารมณ์สะดุดไปบ้าง แบบกำลังอยากดูว่าพวกเขาจะทำอะไรต่อ ก็ตัดสลับไปฉากที่ไม่ค่อยเกี่ยวกัน แล้วก็ตัดกลับมาเรื่องเดิมต่อ
การถ่ายทำแบบเฝ้าสังเกตของ Johannes Holzhausen ผู้กำกับชาวออสเตรีย โดยไม่มีคำบรรยายหรือเสียงอธิบาย ก็อาจทำให้ผู้ชมไม่เข้าใจบางฉากว่าพวกเขากำลังพูดถึงอะไร หรือเกิดความสงสัยว่าภาพนั้น งานประติมากรรมนี้ชื่ออะไร เป็นงานของใคร มีความสำคัญอย่างไร
ชอบเครดิตตอนจบ ที่นอกจากจะแสดงชื่อและตำแหน่งของพนักงานทุกคนที่ปรากฏตัวในเรื่องแล้ว ยังมีภาพเคลื่อนไหวประกอบด้วย
Das große Museum ฉายรอบปฐมทัศน์ใน เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2014 ก่อนจะเข้าฉายในประเทศออสเตรีย วันที่ 5 กันยายน
THE GREAT MUSEUM เข้าฉายที่ doc club & pub. ตั้งแต่วันที่ 27 กรกฎาคม 2023 และคิดว่าน่าจะยังมีรอบฉายไปเรื่อยๆ จนถึงช่วงปลายเดือนสิงหาคม